วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเกษตร




ความเป็นมาของการเกษตร

        มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ในสมัยโบราณการทำเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในดินแดนแถบ Fertile Crescent โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นประเทศซีเรียและตอนใต้ของอิรักในปัจจุบัน เมื่อช่วงประมาณ 9,500 ปีก่อนคริสตกาล คนในสมัยนั้นเริ่มมีการคัดเลือกพืชอาหารที่มีลักษณะตามความต้องการเพื่อนำไปเพาะปลูก

        ประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ระบบเกษตรกรรมขนาดเล็กได้แพร่เข้าไปสู่อียิปต์ ในช่วงเวลาเดียวกันก็เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ในอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปรากฏหลักฐานในการขุดค้นแหล่งโบราณคดี Mehrgarh ในภูมิภาค Balochistan จนถึงเมื่อ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ในอียิปต์เริ่มมีการทำเกษตรกรรมขนาดกลางบนริมฝั่งแม่น้ำไนล์ และในช่วงเวลานี้ในภูมิภาคตะวันออกไกลก็มีการพัฒนาทางเกษตรกรรมในรูปแบบเฉพาะตน โดยจะเน้นเพาะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชผลหลักมากกว่าข้าวสาลี

ความหมายของการเกษตร
        
        การเกษตรหรือการเกษตรกรรม(Agriculture) หมายถึง การเพราะปลูกพืชต่างๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง ผู้ที่ทำการเกษตรนั้น เรียกว่า เกษตรกร ส่วนคำว่า กสิกร นั้นหมายถึงผู้ที่ทำการกสิกรรม คือผู้ที่ปลูกพืชเพียงอย่างเดียว เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน

        การเกษตรจึงเป็นการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน และทุน โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเรานิยมเรียกว่า ผลผลิตทางการเกษตร



ประโยชน์และความสำคัญของการเกษตร

        การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายจากพืช สัตว์ ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร นำไปประกอบอาหารรับประทาน สร้างความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย นำส่วนต่างๆ ของพืชเส้นใยไปผลิตสิ่งทอหรือใช้หนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม ปลูกป่าเพื่อนำไม้ไปเป็นอุปกรณ์การก่อสร้าง สร้างที่พักอาศัย อาคารสถานที่ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ และปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น

ประเภทของการเกษตร
        แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. การปลูกพืช มีหลายชนิดโดยลักษณะธรรมชาติของพืชแต่ล่ะชนิดก็แตกต่างกันไป ซึ่งนักวิชาการเกษตรได้แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น วิธีการปลูก ดูแลรักษา นำไปใช้ประโยชน์ สำหรับในที่นี้ได้จัดแบ่งลักษณะจากการปลูกและดูแลรักษาเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1.1. พืชสวน หมายถึง พืชที่ปลูกในเนื้อที่น้อย สามารถให้ผลตอบแทนสูง ต้องการการดูแลรักษามาก แบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- ไม้ดอกไม้ประดับ ลักษณะการปลูก คือ นิยมปลูกไว้ในบ้าน และบริเวณบ้านหรือในกระถางใช้พื้นที่ไม่มาก ใช้ตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อความสวยงาม วิธีการดูแลรักษา รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอย่างง่ายๆ อย่างสม่ำเสมอ
- พืชผัก ลักษณะการปลูก คือ ปลูกในแปลงเพราะปลูก หรือสวนผักโดยเฉพาะวิธีการดูแลรักษา นอกจากจะดูแลรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยตามปกติแล้วจะต้องกำจัดศัตรูพืช และมีการป้องกันแมลงต่างๆ อย่างดี พืชผัก เช่น หอม กระเทียม มะเขือ คะน้า แตงกวา และผักกวางตุ้ง
- ไม้ผล ลักษณะการปลูก คือ ปลูกในสวนผลไม้ หรือพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เพราะต้นไม้จะเป็นไม้ยืนต้น อายุการให้ผลยาวนาน วิธีการดูแลรักษาพิเศษกว่าปกติ ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ตกแต่งกิ่ง และตรวจสอบดูหนอน แมลง ศัตรูพืช ไม้ผล เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ฯลฯ
1.2. พืชไร่ หมายถึง พืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลรักษามากเหมือนพืชสวน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 1 ปี หรือมากกว่า ผลผลิตของพืชไร่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทย โดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลัก และส่งเป็นสินค้าออกจัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วต่างๆ ยาสูบ ฝ้าย มันสำปะหลัง เป็นต้น

2. การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงมานานแล้ว โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามชนบท นอกจากจะประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ แล้วมักจะเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วยเพื่อใช้เป็นอาหาร แรงงาน ในการเพาะปลูก การขนส่ง และเพื่อแก้เหงา ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในแง่การใช้แรงงานลดน้อยลง แต่จะมีบทบาทมากในแง่ของการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารเนื่องจากผู้บริโภคนิยมบริโภคเนื้อสัตว์กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศได้อีกด้วย วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์ แบ่งออกได้ดังนี้
1.เพื่อไว้ใช้บริโภค
2.เพื่อไว้ใช้แรงงาน
3.เพื่อประกอบอาชีพ
4.เพื่อเสริมรายได้
5.เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่มของใช้และยารักษาโรค
6.เพื่อความสวยงามและความเพลิดเพลิน
7.เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์

3. การประมง การทำประมงเป็นการเกษตรเกี่ยวกับการเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำทุกชนิดของประเทศไทยซึ่งการทำประมงนี้สามารถสร้างรายได้ให้ประชาชน และประเทศเป็นจำนวนมาก การทำประมงในประเทศไทยสามารถแบ่งออกตามลักษณะของแหล่งน้ำได้ 3 ประเภท คือ
3.1. การทำประมงน้ำจืด หมายถึง การทำประมงในแหล่งน้ำจืดตามบริเวณที่ต่างๆ ได้แก่การจับปลาในแม่น้ำ ลำคลอง การเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง การเลี้ยงปลาสลิดในบ่อ เป็นต้น
3.2. การทำประมงน้ำเค็มหรือการทำประมงทะเล หมายถึง การจับกุ้งทะเล ปลา และปลาหมึก ตลอดจนการเลี้ยงหอยทะเลต่างๆ เช่น การเลี้ยงหอยแมลงภู่ การเลี้ยงหอยนางรม เป็นต้น
3.3. การทำประมงน้ำกร่อย หมายถึง การทำประมงในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่น้ำเค็มและน้ำจืด เช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง การเลี้ยงปลานวลจันทร์เป็นต้น

4. การป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

อ้างอิงจาก:
www.wikipedia.org
www.l3nr.org


วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างธุรกิจ



ธุรกิจร้านดอกไม้

จุดเริ่มต้นของธุรกิจร้านดอกไม้
        การมอบดอกไม้นั้น เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เรามักจะพบบ่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ในซีกโลกตะวันตกหรือซีกโลกตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามล้วนแล้วแต่ต้องใช้ดอกไม้เป็นองค์ประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา                                                       
        ดอกไม้จึงมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลกยันเสียชีวิตเลยทีเดียว คงจะไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ไม่อยากได้รับดอกไม้ในวันวาเลนไทน์ คงจะไม่มีบัณฑิตคนไหนที่ไม่ต้องการดอกไม้แสดงความยินดีในวันรับปริญญา
        คงไม่มีผู้หญิงคนไหนที่จะดีใจมากไปกว่าการที่มีผู้ชายคุกเข่าเพื่อขอแต่งงานพร้อมกับช่อดอกไม้และแหวนวงโต และคงไม่มีคนป่วยคนไหนที่ไม่อยากได้รับดอกไม้ แสดงการให้กำลังใจของผู้มอบ รวมไปถึงคงไม่มีงานศพใดที่ไม่มีการส่งพวงหรีดแสดงความเสียใจอย่างแน่นอน
        ด้วยความที่ดอกไม้มีบทบาทเป็นอย่างมากกับวิถีชีวิตคนในปัจจุบัน จึงทำให้เราเห็นร้านดอกไม้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด แต่เมื่อในเทศกาลสำคัญๆที่มีการใช้ดอกไม้มากๆอย่างวาเลนไทน์ ดอกไม้ที่มีอยู่ในตลาดนั้น แม้จะแพงขนาดไหนก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการซื้อที่ทะลักและล้นหลามอยู่ดี
        ธุรกิจร้านดอกไม้ จึงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนเพราะมีความต้องการเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด ตราบเท่าที่คนไทยยังต้องพบกับงานวันเกิด รับปริญญา ขอแต่งงาน งานแต่งงาน และงานศพ วัฒนธรรมการใช้ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ก็จะยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างแน่นอน


รูปแบบของธุรกิจร้านดอกไม้
1. รับดอกไม้มาขายแบบง่ายๆ
        สำหรับผู้ที่ไม่มีเงินทุนที่มากนักบวกกับยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับดอกไม้ซักเท่าไหร่ การรับดอกไม้มาขายแบบง่ายๆนั้น ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว ถึงแม้ว่าจะดูเป็นแค่การซื้อมาขายไป ไม่ได้เพิ่มมูลค่าอะไรมากนัก แต่หากเป็นในเทศกาลที่สำคัญๆอย่างวาเลนไทน์ รูปแบบนี้ก็สามารถขายดอกไม้และทำเงินได้อย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน

2. ขายดอกไม้และรับจัดช่อดอกไม้
        คุณอาจจะรับดอกไม้มาขายแบบง่ายๆได้ซักพักหนึ่งและเริ่มมีเงินทุน รวมไปถึงได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดดอกไม้ คุณก็สามารถที่จะเริ่มต้นร้านดอกไม้ในลักษณะนี้ได้แล้ว การจัดดอกไม้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับดอกไม้ที่ราคาไม่แพงนัก แต่เมื่อมารวมกันเป็นช่อกลับได้ราคาสูงอย่างน่าตกใจ บางครั้งราคาดอกไม้รวมกันอาจจะแค่หลักร้อย แต่เมื่อจัดแล้วสามารถขายได้ในหลักพันเลยทีเดียว

3. มีบริการ Delivery
         เมื่อคุณมีทักษะในการจัดดอกไม้แล้ว วิธีการเพิ่มยอดขายและกำไรให้กับธุรกิจร้านดอกไม้เพิ่มเติมอีกคือ การให้บริการส่งแบบ Delivery ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากบางครั้งลูกค้าก็ไม่ว่างที่จะมาซื้อดอกไม้และเจรจาต่อรองด้วยตัวเอง แต่ต้องการซื้อด้วยความสะดวกสบาย ด้วยการโทรสั่งให้ไปส่งดอกไม้แบบ Delivery หรืออาจจะสั่งผ่าน Website ก็ไม่ผิด ถ้าจะเริ่มต้นร้านดอกไม้แบบ Online คุณก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเช่า Host ของตัวเอง และจด Domain โดยอาจจะทำผ่าน Bluehost.com หรือ Hostgator.com ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงและ Serverไม่ล่ม ทำให้การทำธุรกิจแบบ Delivery น่าเชื่อถือขึ้น
4. ปลูกดอกไม้                                                                                                                                                             หากคุณเบื่อที่จะต้องบริหารจัดการหน้าร้านแต่มีที่ดินอยู่ต่างจังหวัดและมีความพร้อมที่จะทำการเกษตร การปลูกดอกไม้เพื่อส่งให้ร้านต่างๆก็เป็นรูปแบบธุรกิจที่ไม่เลว หรือคุณอาจจะมีหน้าร้านของตัวเองด้วยก็ไม่ผิด และทำให้ได้กำไรเต็มๆรวมไปถึงได้สานสัมพันธ์กับร้านค้าที่อยู่บริเวณโดยรอบ ทำให้คุณสามารถขายดอกไม้จากสวนของคุณให้กับพวกเค้าโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง


จุดเด่นของธุรกิจร้านดอกไม้
1. ขายดีมากในช่วงเทศกาล
         บางคนอาจจะมองว่า ธุรกิจร้านดอกไม้ไม่น่าจะทำได้กำไรเยอะ เพราะวันๆนึงน่าจะมีคนเข้ามาในร้านแค่ไม่กี่คน แต่เค้ามองข้ามจังหวะเทศกาลที่มีคนเข้ามาในร้านมหาศาลไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวาเลนไทน์ กำไรในช่วงเทศกาลนั้นสูงพอที่จะทำให้ร้านได้กำไรเพียงพอสำหรับอยู่ได้ทั้งปีเลยทีเดียว

2. คนเดียวก็ลุยได้
         ถ้าคุณตั้งใจเปิดร้านขายดอกไม้อย่างง่ายๆ ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างคนให้วุ่นวาย เพราะเป็นธุรกิจที่คนๆเดียวก็สามารถดูแลร้านได้อย่างสบายๆ ชงเอง จัดร้านเอง เก็บตังค์เอง ไม่ต้องแบ่งใคร ไม่ต้องปวดหัวเรื่องลูกจ้างจะมาไม่มา จะเปิดร้านได้หรือไม่
3. ใช้เงินลงทุนน้อย
        ธุรกิจดอกไม้เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทอื่นๆ Stock มักจะเป็นวันต่อวันและการตกแต่งร้านก็ใช้เงินน้อยเช่นเดียวกัน




ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านดอกไม้

1. สายสัมพันธ์กับเจ้าของสวนดอกไม้
        สายสัมพันธ์กับเจ้าของสวนดอกไม้เป็นเหมือนกับเส้นเลือดใหญ่ของธุรกิจร้านดอกไม้ ดอกไม้ที่เราต้องรับจากเค้าทุกวันเป็นหัวใจของธุรกิจ คงจะไม่ดีถ้าเค้าส่งดอกไม้ที่ใกล้จะเสียให้เราเพราะว่าหมั่นไส้ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้
2. การบริหาร Stock หรือสินค้าคงเหลือ
        การบริหาร Stock สินค้าเป็นตัวบอกว่า คุณจะทำกำไรได้หรือไม่ ยิ่งดอกไม้เป็นสินค้าที่เน่าเสียได้เร็ว การดูแล Stock สินค้าไม่ให้มากเกินไปยิ่งทวีความสำคัญขึ้น ไม่งั้นอาจจะเจ๊งได้ง่ายๆเลยทีเดียว
3. การบริการที่เหนือกว่า                 
        ธุรกิจร้านดอกไม้เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องมีการบริการที่เป็นเลิศ เราจะเห็นได้ว่า บางครั้งลูกค้าขาจรที่เพิ่งเคยเข้ามาร้านเราเป็นครั้งแรก อาจจะด้อมๆมองๆ ว่าจะซื้อหรือจัดดอกไม้อย่างไรดี เราก็ควรที่จะแนะนำลูกค้าได้ว่า ชุดไหน แบบไหนเหมาะกับจุดประสงค์ที่ลูกค้าจะไปมอบให้ เพื่อให้ลูกค้าขาจรนั้นประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่มา ลูกค้าจะหลงรักร้านของเราและเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่จะตัดสินใจมาใช้บริการ


อ้างอิงจาก:
www.shoplri.com
ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก Youtube


วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ธุรกิจ



ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
ความหมายของธุรกิจ
             ธุรกิจ หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ โดยภายในหน่วยงานหรือธุรกิจนั้นๆ มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของธุรกิจ
      ธุรกิจเป็นหัวใจสำคัญของสังคม สังคมจะเจริญก้าวหน้า มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ ก็ต้องอาศัยความเจริญของธุรกิจ ซึ่งอาจสรุปความสำคัญของธุรกิจได้ดังนี้
1.  ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีความก้าวหน้าและมั่นคง เนื่องจากมีการลงทุนประกอบธุรกิจ ทำให้มีการหมุนเวียน มีการกระจายรายได้ ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น
2. ช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่ประชาชนมีรายได้ จำเป็นต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้รัฐเพื่อที่จะนำรายได้เหล่านี้ไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
3. ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การทำธุรกิจย่อมต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และทันคู่แข่งขัน
4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะธุรกิจทำให้มีการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้
5. ช่วยลดปัญหาทางด้านสังคม คือปัญหาเรื่องการว่างงาน ถ้าประชาชนมีการว่างงานจำนวนมาก ก็จะไม่มีรายได้ ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นตามมา เช่น การเกิดอาชญากรรม


องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ
        จากความหมายของธุรกิจจะเห็นได้ว่าธุรกิจจะดำเนินได้นั้นต้องมีการนำกิจกรรมหลายๆอย่างมาประสานกัน ซึ่งกิจกรรมนั้นๆก็คือ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบภายในธุรกิจนั้นเอง
        หน้าที่ทางธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆที่จะผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่ภายในธุรกิจหรือหน่วยงานเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมเพื่อให้สินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
        ทรัพยากร(Resource) ที่หน่วยงานมีอยู่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสินทรัพย์ต่างๆ ที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น ประเภทหรือเรียกสั้นๆว่า 4 M's อันประกอบด้วย
1. คน(Man) เป็นทรัพยากรแรกที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานภายในธุรกิจ ซึ่งนับรวมทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายปฎิบัติการ
2. เงินทุน(Money or Capital) คือสินทรัพย์ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆก็ได้
3. วัตถุดิบหรืออุปกรณ์(Material) คืออาจจะเป็นรูปของวัตถุดิบ ถ้าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจการผลิตเช่น เครื่องจักรกล วัสดุ อะไหล่ต่างๆ หรืออาจใช้ในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้
4. การบริหารงานหรือการจัดการ(Management) คือกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำคน เงิน ทุน และวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์ มาดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด             
        การดำเนินของหน้าที่ภายในธุรกิจ เพื่อให้ทรัพยากรประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องแบ่งหน้าที่ต่างๆออกเป็น 5 หน้าที่ ดังนี้
1. หน้าที่เกี่ยวกับการผลิต(Production Function)
2. หน้าที่เกี่ยวกับการตลาด(Marketing Function)
3. หน้าที่เกี่ยวกับการเงิน(Financial Function)
4. หน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี(Accounting Function)
5. หน้าที่เกี่ยวกับบุคคลากร(Personal Function)



ประเภทของธุรกิจ
         เราสามารถแบ่งประเภทธุรกิจได้อย่างกว้างๆเป็น 2 ประเภท คือ
1. ธุรกิจการผลิต(Goods-Producing Businesses) ธุรกิจจะผลิตสินค้าที่จับต้องได้(Tangible goods) ผ่านกระบวนการผลิตต่างๆ ธุรกิจประเภทนี้ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก หรือ อาจเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ใช้ทุนเป็นหลัก(Capital-intensive business) เช่นธุรกิจผลิตรถยนต์ ธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น

2. ธุรกิจการบริการ(Service Businesses) ธุรกิจจะผลิตสินค้าที่ไม่มีตัวตน(Intangible goods) เช่นธุรกิจการเงิน ประกันภัย การค้าส่งค้าปลีก เป็นต้น ธุรกิจภาคบริการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก(Labor-intensive business) จึงเป็นธุรกิจที่ต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก

         การแบ่งประเภทของธุรกิจตามลักษณะของกิจกรรมที่ธุรกิจกระทำ แบ่งออกได้ดังนี้
1. ธุรกิจการเกษตร(Agriculture) การประกอบธุรกิจการเกษตร ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวน การทำป่าไม้ การทำปศุสัตว์ ฯลฯ

2. ธุรกิจอุตสาหกรรม(Manufacturing) การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่ออุปโภค แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
     2.1. อุตสาหกรรมในครัวเรือน จัดเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้แรงงานเฉพาะสมาชิกในครอบครัว ลงทุนไม่สูงนักส่วนใหญ่เป็นการใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนาทำไร่ ขณะที่รอเก็บเกี่ยวพืชผลก็ใช้เวลาว่าง มาทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา อุตสาหกรรมทำเครื่องเขิน อุตสาหกรรมทำเครื่องจักสาน ฯลฯ
      2.2. อุตสาหกรรมโรงงาน เป็นอุตสาหกรรมที่ผู้ผลิตสินค้ามีโรงงาน มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าได้ครั้งละจำนวนมาก มีการจ้างแรงงานจากบุคคลภายนอก ได้แก่ โรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตพลาสติก ฯลฯ

3. ธุรกิจเหมืองแร่(Mineral) การประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ชนิดต่างๆ การขุดเจาะถ่านหิน การขุดเจาะนำทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมาใช้

4. ธุรกิจการพาณิชย์(Commercial) เป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่กระจายสินค้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมต่างๆไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้อุปโภคบริโภคสินค้าตามความต้องการ ได้แก่ ธุรกิจพ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างๆ

5. ธุรกิจการก่อสร้าง(Construction) เป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการนำวัสดุต่างๆ ได้แก่ อิฐ หิน ปูน ทราย มาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การสร้างถนน สร้างอาคาร สร้างเขื่อน ก่อสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น

6. ธุรกิจการเงิน(Finance) เป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นทำงานได้คล่องตัวขึ้น เนื่องจากในการทำธุรกิจจะต้องเริ่มจากการลงทุน ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุน เช่น นำมาซื้อที่ดิน ปลูกสร้างอาคาร จ้างคนงาน ซื้อวัตถุดิบ ซื้อเครื่องจักร ฯลฯ ซึ่งถือว่าธุรกิจการเงินเป็นแหล่งที่ธุรกิจอื่นสามารถติดต่อในการจัดหาทุนได้ นอกจากนั้นในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ธุรกิจการเงินจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อซื้อขาย ชำระเงินระหว่างกัน ธุรกิจที่จัดเป็นธุรกิจการเงิน ได้แก่ ธุรกิจประเภทธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทการเงิน

7. ธุรกิจให้บริการ(Service) เป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ได้แก่ ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการสื่อสาร ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการโรงแรม ฯลฯ

8. ธุรกิจอื่นๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจอาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิศวกร แพทย์ สถาปัตย์ ช่างฝีมือ ประติมากรรม ฯลฯ

อ้างอิงจาก:
www.myumaisuniya.blogspot.com
www.novabizz.com/Business.htm