ความเป็นมาของการเกษตร
มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ในสมัยโบราณการทำเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในดินแดนแถบ Fertile Crescent โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นประเทศซีเรียและตอนใต้ของอิรักในปัจจุบัน เมื่อช่วงประมาณ 9,500
ปีก่อนคริสตกาล
คนในสมัยนั้นเริ่มมีการคัดเลือกพืชอาหารที่มีลักษณะตามความต้องการเพื่อนำไปเพาะปลูก
ประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล
ระบบเกษตรกรรมขนาดเล็กได้แพร่เข้าไปสู่อียิปต์ ในช่วงเวลาเดียวกันก็เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ในอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปรากฏหลักฐานในการขุดค้นแหล่งโบราณคดี
Mehrgarh ในภูมิภาค Balochistan จนถึงเมื่อ
6,000 ปีก่อนคริสตกาล
ในอียิปต์เริ่มมีการทำเกษตรกรรมขนาดกลางบนริมฝั่งแม่น้ำไนล์ และในช่วงเวลานี้ในภูมิภาคตะวันออกไกลก็มีการพัฒนาทางเกษตรกรรมในรูปแบบเฉพาะตน
โดยจะเน้นเพาะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชผลหลักมากกว่าข้าวสาลี
ความหมายของการเกษตร
การเกษตรหรือการเกษตรกรรม(Agriculture) หมายถึง การเพราะปลูกพืชต่างๆ
รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง ผู้ที่ทำการเกษตรนั้น เรียกว่า เกษตรกร
ส่วนคำว่า กสิกร นั้นหมายถึงผู้ที่ทำการกสิกรรม คือผู้ที่ปลูกพืชเพียงอย่างเดียว
เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน
การเกษตรจึงเป็นการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน และทุน โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์
เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเรานิยมเรียกว่า ผลผลิตทางการเกษตร
ประโยชน์และความสำคัญของการเกษตร
การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
โดยมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายจากพืช สัตว์ ในชีวิตประจำวัน
โดยใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร นำไปประกอบอาหารรับประทาน
สร้างความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย นำส่วนต่างๆ
ของพืชเส้นใยไปผลิตสิ่งทอหรือใช้หนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม
ปลูกป่าเพื่อนำไม้ไปเป็นอุปกรณ์การก่อสร้าง สร้างที่พักอาศัย อาคารสถานที่
ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ และปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น
ประเภทของการเกษตร
แบ่งได้เป็น
4 ประเภท ดังนี้
1. การปลูกพืช มีหลายชนิดโดยลักษณะธรรมชาติของพืชแต่ล่ะชนิดก็แตกต่างกันไป
ซึ่งนักวิชาการเกษตรได้แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น วิธีการปลูก ดูแลรักษา
นำไปใช้ประโยชน์ สำหรับในที่นี้ได้จัดแบ่งลักษณะจากการปลูกและดูแลรักษาเป็น 3
ชนิด ได้แก่
1.1. พืชสวน หมายถึง
พืชที่ปลูกในเนื้อที่น้อย สามารถให้ผลตอบแทนสูง ต้องการการดูแลรักษามาก
แบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- ไม้ดอกไม้ประดับ ลักษณะการปลูก คือ นิยมปลูกไว้ในบ้าน
และบริเวณบ้านหรือในกระถางใช้พื้นที่ไม่มาก ใช้ตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อความสวยงาม
วิธีการดูแลรักษา รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอย่างง่ายๆ อย่างสม่ำเสมอ
- พืชผัก ลักษณะการปลูก คือ ปลูกในแปลงเพราะปลูก
หรือสวนผักโดยเฉพาะวิธีการดูแลรักษา นอกจากจะดูแลรดน้ำ พรวนดิน
ใส่ปุ๋ยตามปกติแล้วจะต้องกำจัดศัตรูพืช และมีการป้องกันแมลงต่างๆ อย่างดี พืชผัก
เช่น หอม กระเทียม มะเขือ คะน้า แตงกวา และผักกวางตุ้ง
- ไม้ผล ลักษณะการปลูก คือ ปลูกในสวนผลไม้
หรือพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เพราะต้นไม้จะเป็นไม้ยืนต้น อายุการให้ผลยาวนาน
วิธีการดูแลรักษาพิเศษกว่าปกติ ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ตกแต่งกิ่ง และตรวจสอบดูหนอน
แมลง ศัตรูพืช ไม้ผล เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ฯลฯ
1.2. พืชไร่ หมายถึง
พืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลรักษามากเหมือนพืชสวน
ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 1 ปี หรือมากกว่า
ผลผลิตของพืชไร่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทย
โดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลัก และส่งเป็นสินค้าออกจัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ
ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วต่างๆ ยาสูบ
ฝ้าย มันสำปะหลัง เป็นต้น
2. การเลี้ยงสัตว์
มีการเลี้ยงมานานแล้ว โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามชนบท นอกจากจะประกอบอาชีพทำนา
ทำไร่ แล้วมักจะเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วยเพื่อใช้เป็นอาหาร แรงงาน ในการเพาะปลูก
การขนส่ง และเพื่อแก้เหงา ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในแง่การใช้แรงงานลดน้อยลง
แต่จะมีบทบาทมากในแง่ของการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารเนื่องจากผู้บริโภคนิยมบริโภคเนื้อสัตว์กันอย่างแพร่หลาย
อีกทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศได้อีกด้วย วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์ แบ่งออกได้ดังนี้
1.เพื่อไว้ใช้บริโภค
2.เพื่อไว้ใช้แรงงาน
3.เพื่อประกอบอาชีพ
4.เพื่อเสริมรายได้
5.เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่มของใช้และยารักษาโรค
6.เพื่อความสวยงามและความเพลิดเพลิน
7.เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์
3. การประมง
การทำประมงเป็นการเกษตรเกี่ยวกับการเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำทุกชนิดของประเทศไทยซึ่งการทำประมงนี้สามารถสร้างรายได้ให้ประชาชน
และประเทศเป็นจำนวนมาก การทำประมงในประเทศไทยสามารถแบ่งออกตามลักษณะของแหล่งน้ำได้
3 ประเภท คือ
3.1. การทำประมงน้ำจืด หมายถึง
การทำประมงในแหล่งน้ำจืดตามบริเวณที่ต่างๆ ได้แก่การจับปลาในแม่น้ำ ลำคลอง
การเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง การเลี้ยงปลาสลิดในบ่อ เป็นต้น
3.2. การทำประมงน้ำเค็มหรือการทำประมงทะเล
หมายถึง การจับกุ้งทะเล ปลา และปลาหมึก ตลอดจนการเลี้ยงหอยทะเลต่างๆ เช่น
การเลี้ยงหอยแมลงภู่ การเลี้ยงหอยนางรม เป็นต้น
3.3. การทำประมงน้ำกร่อย หมายถึง
การทำประมงในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่น้ำเค็มและน้ำจืด เช่น
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง การเลี้ยงปลานวลจันทร์เป็นต้น
4. การป่าไม้ หมายถึง
การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ
การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น
อ้างอิงจาก:
www.wikipedia.org
www.l3nr.org