วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เทคโนโลยี(Technology)





เทคโนโลยี  (Technology)
หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นมา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสาขาอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆ

เทคโนโลยีมีความสำคัญหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1. สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยเมื่อใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางแทนการเดินหรือนั่งรถประจำทาง เดินทางโดยเรือยนต์ ทำให้มนุษย์ ประหยัดเวลาและสะดวกสบายไม่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน  และการใช้ชีวิตประจำวัน  มีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสุขภาพจิต ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดี

2.  เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  เมื่อใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เนท  ดาวเทียม มนุษย์ทั่วโลกจะสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงเกิดความเสมอภาคกันในด้านศึกษาและการรับรู้ข่าวสารต่างๆ

3. ป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน  เมื่อใช้เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย เช่นภาพถ่ายดาวเทียม กล้องโทรทัศน์วงจรปิด  การติดตั้งเครื่องจับสัญญาณสึนามิในทะเล จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สินได้นั่นเอง

4. การทำงานรวดเร็วคล่องตัว  เมื่อใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร จะช่วยให้ทำงานเสร็จในเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพ ประหยัดทรัพยากร

5. แก้ปัญหาต่างๆ ได้ เมื่อใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือนำงานวิจัยและพัฒนาของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ เช่น การใช้วิธีแกล้งดิน  ช่วยปรับสภาพดินเป็นกรดให้ปลูกพืชได้  การใช้พืชสมุนไพรในการกำจัดแมลงแทนสารเคมีช่วยแก้ปัญหาการเกิดมลพิษทางอากาศได้





ระดับของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีเกิดจากการคิดค้นและพัฒนาของมนุษย์ มีหลักฐานปรากฏให้เห็นตั้งแต่ยุคโบราณซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินหรือใช้สอยประจำวัน ต่อมาในยุคกลางหรือยุคเหล็กจะเป็นการนำโลหะๆต่าง มาเป็นเครื่องมือและอาวุธรวมถึงการก่อสร้างที่อาศัย สำหรับในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับของเทคโนโลยีได้  ประเภท ดังนี้

1.  เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน เป็นเทคโนโลยียุคแรกของบรรพบุรุษซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสังคเกษตรกรรมพื้นบ้านที่มีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธเพื่อใช้ในการล่าสัตว์นำมาเป็นอาหาร  ผลิตวัสดุ และนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ รวมถึงมรการถนอมอาหาร เช่น  อาหารตากแห้ง  เทคโนโลยีระดับนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจ หรือมีความรู้มากมาย เพียงแค่รู้หลักการและวิธีการใช้เท่านั้น ตัวอย่างเทคโนโลยีระดับนี้ ได้แก่ ขวาน  มีดพร้า เสียม จอบ ลอบดักปลา อวน แห คันไถ หม้อไห กระต่ายขูดมะพร้าว ครกตำข้าว ยาสมุนไพร เรือพาย  ครกกระเดื่อง ระหัดวิดน้ำ เครื่องสีข้าว  ครกหินบดยา เป็นต้น

2. เทคโนโลยีระดับกลาง  เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนขึ้นโดยต้องใช้ความรู้และประสบการณ์  จากการแก้ปัญหาเกษตรกรรมพื้นบ้าน  มาพัฒนาระบบการทำงาน กลไกลต่างๆ และแก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ เครื่องมือให้กลับมามีสภาพดีดังเดิม ตลอดจนเผยแพร่ความรู้แก่คนในท้องถิ่นได้ ตัวอย่าง เทคโนโลยีระดับนี้ ได้แก่ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน  การใช้เครื่องทุ่นแรง  เครื่องยนต์  มอเตอร์  การจับสัตว์น้ำด้วยเรือยนต์ลากจูง  เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ กังหันลมช่วยผลิตพลังงานไฟฟ้า กังหันลมช่วยสูบน้ำใต้ดิน  สว่านไฟฟ้า เครื่องเจาะไฟฟ้า  การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพ การสร้างอ่างเก็บน้ำ  การผลิตอาหารจากผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร  เครื่องมือขูดมาพร้าวที่ติดมอเตอร์ใช้ไฟฟ้า  เป็นต้น

3.  เทคโนโลยีระดับสูง  เป็นเทคโนโลยีที่ผู้พัฒนาต้องมีประสบการณ์อันยาวนาน  เพื่อให้สามารถปรับปรุง  แก้ไข้  ดัดแปลงเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนได้ ซึ่งต้องมีการศึกษา  ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อย่างสม่ำเสมอ และมีการประดิษฐ์ทดลองคิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเทคโนดลยีระดับนี้ ได้แก่  การผลิตอาหารกระป๋อง  การเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ  การโคลนนิ่ง  การผลิตกะทิสำเร็จรูป  กะทิผง ยารักษาโรคแผนปัจจุบัน  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์   การบัญชี งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม  ระบบดาวเทียม  และนาโนเทคโนโลยี  เป็นต้น



เทคโนโลยีทางการเกษตร

        ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเรื่อง GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม


GMOs คือ อะไร 


              GMOs ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือ สัตว์ หรือ 

แบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering)โดยจากการตัดเอา

ยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมาใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยตามปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ เพื่อ

ให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีนมาใส่เข้าไปแล้วก็คือจีเอ็มโอ(GMOs) 

ตัวอย่างเช่นนำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีน

จากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีนของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้

มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น



ตัวอย่างของ พืช GMOs


อ้อย GMOs
     ทำให้ได้อ้อยที่มีลักษณะที่ดีขึ้น ทำให้สามารถต่อต้านยาฆ่าแมลง และมีปริมาณน้ำตาลซูโครสในปริมาณที่สูงขึ้น

ข้าว GMOs
     

     ทำให้ได้ข้าวที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถทนแล้ง ทนเค็มได้ หรือ มีสารอาหารอย่างบีต้าแคโรทีน(beta-carotene) ที่

เป็นสารเริ่มต้น(precursor)ของวิตามิน A ได้

พริกหวาน GMOs
     

      ทำให้ได้พริกหวานที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีนcoat proteinของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอทำให้สามารถ

ต้านทานไวรัสได้

สตรอเบอรี่ GMOs
     

      ทำให้ได้สตรอเบอรี่ที่มีลักษณะที่ดีขึ้น อย่างเช่น ผลของสตรอเบอรี่เน่าเสียได้ช้าลง ก่อให้เกิดความสะดวกในการ

ขนส่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ผลของสตรอเบอรี่มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น

แอปเปิล GMOs
     

      ทำให้ได้แอปเปิลที่มีลักษณะที่ดีขึ้น คือ ทำให้แอปเปิลมีความสดใหม่และมีความกรอบของผลแอปเปิลเป็นระยะ

เวลาที่ยาวนานขึ้นหรือคือทำให้ระยะเวลาในการเน่าเสียช้าลง (delay ripening) ทำให้แอปเปิลทนทานต่อแมลงต่างๆ ที่

เป็นศัตรูของแอปเปิล

วอลนัท GMOs
     

      ทำให้ได้เม็ดวอลนัทมีลักษณะที่ดีขึ้น คือ ทนทานต่อโรคของวอลนัทมากขึ้น

คาโนลา(Canola) GMOs
     

      ทำให้ได้คาโนลา(Canola)มีลักษณะที่ดีขึ้น ต้านทานยาปราบวัชพืชพวก glyphosate หรือ glufosinate ได้ ทำให้

ได้น้ำมันจากคาโนลา(Canola)มากขึ้น

ควอช(Squash) GMOs
     

      ทำให้ได้สควอช(Squash)มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอทำให้สามารถ

ต้านทานไวรัสได้


ข้อดีและข้อเสียของ GMOs

ข้อดีของ GMOs

ข้อดีต่อเกษตรกร

1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการป้องกัน

ตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบาง

กรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า

เป็น agronomic traits

2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่ง

ได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือ

เละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้

จำหน่ายสินค้า GMOs 

ข้อดีต่อผู้บริโภค

1. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น 

หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits)

2. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลก

กว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน


ข้อเสียของ GMOs

ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค

1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท 

Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น 

ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ 

หลังจากกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย

2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs อาจเป็น

อันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้มกันลดลง และมี

อาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็น

ว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่องไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยาศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่า

กำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้

ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่น

3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ 

ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็นphytoestrogen 

(ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ 

โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavone ต่อกลุ่มผู้

บริโภคด้วย

4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง 

ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ 

จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ 

เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไรก็ตาม

พืช GMOs อื่นๆที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้นได้รับการประเมินแล้วว่าอัตรา

ความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ 

recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ 

ขณะนี้ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามสัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ 

ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ 

คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ การตบแต่งพันธุกรรม 

ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า 

เชื้อจุลินทรีย์และพืช






อ้างอิงจาก:

www.myumaisuniya.blogspot.com

www.digital.lib.kmutt.ac.th

ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก Youtube

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เมนูต้มยำกุ้ง

       กิจกรรมนอกห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในคาบเรียนวิชาการงานอาชีพฯ ได้เลือกทำเมนูต้มยำกุ้ง ซึ่งมีขั้นตอนในการทำไม่ยากจนเกินไปอีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะของนักเรียนให้ได้ลองปฏิบัติจริง


            ต้มยำเป็นอาหารพื้นเมืองที่คนไทยคุ้นเคยดี เพราะมีให้รับประทานทุกภาคและเป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างชาติด้วย หนึ่งในเมนูต้มยำที่มีชื่อเสียงระดับโลกคือต้มยำกุ้ง 
          คุณลักษณะของต้มยำมาจากความแตกต่างระหว่างความเผ็ดร้อนและความเปรี้ยวและกลิ่นหอมของสมุนไพรในน้ำแกง ที่สำคัญน้ำแกงนั้นประกอบด้วย น้ำต้มกระดูกและเครื่องปรุงส่วนผสมสดได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า น้ำมะนาว น้ำปลาและพริก ดังนั้นต้มยำจึงเป็นอาหารที่ครบรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวานเล็กน้อย

ส่วนประกอบ
1.กุ้งสด                               
2.ตะไคร้                              
3.ใบมะกรูด                           
4.ข่า                                    
5.คนอร์ก้อนรสต้มยำกุ้ง          
6.พริกขี้หนูสวน
7.มะนาว
8.นำ้ปลา
9.นำ้ตาล
10.เกลือ
11.ผงชูรส
12.ผักชีฝรั่ง
13.นำ้พริกเผา
14.เห็ดนางฟ้า
15.นมข้นจืด
16.นำ้ซุป

วิธีทำ
1.เตรียมวัตถุดิบต่างๆเช่น ล้างกุ้ง ปอกกุ้ง ล้างเห็ด เกลาเห็ด หั่นข่าเป็นแว่นๆ ทุบตะไคร้ ฉีกใบมะกรูด
2.ตั้งนำ้ซุปในหม้อ รอให้เดือด ใส่ข่า ตะไคร้ลงไป  ต้มต่อสักพักใส่คนอร์ก้อนลงไป
3.พอนำ้เดือดอีกรอบใส่กุ้งลงไป ต้มจนเริ่มสุกเป็นสีส้ม
4.ปรุงรสด้วย นำ้ปลา นำ้ตาล เกลือ ผงชูรสเล็กน้อย จากนั้นคนให้เข้ากัน
5.ใส่พริกขี้หนูสวนบุบและนำ้พริกเผาลงไป คนให้เข้ากัน
6.ใส่เห็ดลงไป(เห็ดสุกง่ายจึงใส่ตอนท้าย) รอนำ้เดือดอีกรอบ
7.ใส่นมข้นจืดลงไป คนให้เข้ากัน จากนั้นต้มต่อจนเดือด
8.ปิดไฟ ใส่ใบมะกรูด และบีบมะนาวลงไป* คนให้เข้ากัน
9.โรยผักชีฝรั่ง เป็นอันเสร็จพร้อมรับประทาน
*ที่บีบมะนาวที่หลังเพราะความร้อนจัดๆทำให้นำ้มะนาวขม

รูปภาพขณะทำกิจกรรม








อ้างอิงจาก:
www.wikipedia.org

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการฝนหลวง



ประวัติความเป็นมา
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ.2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้งได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้อย่างแน่นอน
จาก พ.ศ.2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้นในปีถัดมา  และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้


ลักษณะการดำเนินงาน
การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบินที่มีอัตราการบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย สูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ สูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้นเพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


ขั้นตอนการทำฝนหลวง

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"

        เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้นให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน ๑๐.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มีค่าCritical relative humidity ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (maincloud core) ในบริเวณปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆและในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆหรือกลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัยประสบการณ์มากเพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)


เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

1.เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพอากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ ได้แก่
1.1.เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2.เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
1.3.เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
        1.4.เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ 
2.เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถังและกรวยโปรยสารเคมี
3.เครื่องมือสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร  เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น
4.เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ
5.สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น เรดาร์ดอปเปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต เครื่องมือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ 



อ้างอิงจาก:
www.wikipedia.org
www.dit.dura.ac.th